วิธีใช้ลูกบอลดับเพลิง ใช้ง่าย สะดวก ปลอดภัย

วิธีใช้ลูกบอลดับเพลิง ใช้ง่าย สะดวก ปลอดภัย

จากสาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้รุนแรงและลุกลามมากขึ้นหลายประการ เช่น ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ไม่มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงนั้นๆ ประกอบกับความร้อนของเปลวไฟที่ลุกโชน ทำให้เข้าทำการดับเพลิงได้ลำบาก จึงได้มีผู้คิดค้นอุปกรณ์ดับเพลิงจิ๋วแต่ทรงพลังที่มีชื่อว่า ลูกบอลดับเพลิง หรือ Elide Fire Ball ซึ่งเป็นผลงานของคุณภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ โดยผลงานนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานจดทะเบียนผลิตภัณฑ์จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (สมอ) และยังคว้ารางวัลสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยม International Federation of Inventors และเหรียญเงินจาก “World Genius Convention” ปี 2007 ในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย นอกเหนือจากรางวัลการันตีต่างๆ ที่ได้รับจากทั่วโลก

นอกจากรางวัลและการันตีต่างๆ ที่ได้รับแล้ว ลูกบอลดับเพลิง Elide Fire Ball  ยังได้รับการรับรองหน่วยงานราชการไทยอีกด้วย ได้แก่ หนังสือรับรองจาก กองการฝึก กองเรือยุทธการ เรื่อง ผลการทดสอบขีดความสามารถลูกบอลดับเพลิง , หนังสือรับรองกองบังคับการตำรวจดับเพลิง เรื่อง ลูกบอลดับเพลิงได้ผ่านการทดสอบจากคณะทำงานของกองบังคับการตำรวจดับเพลิง ว่าสามารถดับไฟได้ และหนังสือรับรองจาก กองบังคับการตำรวจดับเพลิง ในเรื่องความคิดเห็นว่าลูกบอลดับเพลิงสามารถเป็นอุปกรณ์ดับเพลิงในอาคารได้ ซึ่งทุกๆ รางวัลและการรับรองจากหน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่ได้รับนี้คือสิ่งที่รับประกันประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี

วิธีใช้งานก็ง่ายแสนสะดวก โดยการโยนเข้าไปในกองเพลิง เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น ก็เพียงโยน ขว้าง ทอย กลิ้งเจ้าลูกบอลดับเพลิงนี้เข้าไปในกองเพลิง ลูกบอลจะเข้าไปอยู่ที่ฐานของกองเพลิงนั้น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในการดับเพลิง และจะทำงานภายในเวลา 3 – 10 วินาที เท่านั้นก็ดับเพลิงได้แล้ว หรือหากใช้เฝ้าระวังเพลิง ก็สามารถทำงานด้วยตัวเองได้แม้ไม่มีคนอยู่ ดังนั้นเมื่อติดตั้งในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเพลิงไหม้ ก็จะเป็นการช่วยเฝ้าระวังการเกิดเพลิงไหม้ได้ เมื่อลูกบอลดับเพลิงนี้สัมผัสกับเปลวเพลิง ก็จะทำงานทันทีโดยอัตโนมัติ โดยการทำงานของลูกบอลดับเพลิงจะเป็นการผลักดันไอเชื้อเพลิงระเหยซึ่งผสมกับออกซิเจนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการเกิดเพลิงไหม้ออกไปเมื่อโยนลูกบอลดับเพลิงเข้าไปที่จุดที่เกิดเพลิงไหม้  ซึ่งตัวลูกบอลดับเพลิงนั้นมีขนาดใหญ่กว่าลูกบอลพลาสติกที่มีอยู่ทั่วไปเล็กน้อย มีน้ำหนักประมาณ 1.3 กิโลกรัม ผิวนอกของลูกบอลนี้จะเป็นโฟมไร้สาร CFC เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวัสดุที่ทนแรงกระแทกแต่ไวต่อการเผาไหม้ของเปลวเพลิง เมื่อเปลือกของลูกบอลถูกเผาไหม้แล้ว ดินขับที่อยู่ด้านในก็จะทำงานดันสารเคมีที่อยู่ภายในลูกบอลดับเพลิงนี้ให้กระจายออกไปเพื่อดับเพลิง โดยหากเป็นกองเพลิงที่มีขนาดเล็กกว่า 4 ตารางเมตร หรือไหม้ภายใน 1 – 3 นาที จะสามารถดับเพลิงได้เลยทันที หรือหากกองเพลิงมีขนาดใหญ่ 4 ตารางเมตร หรือไหม้นาน 3 นาที ให้โยนลูกบอลดับเพลิงเข้าไปยังกองเพลิงพร้อมกัน 2 ลูก จะสามารถหยุดการเผาไหม้ภายในเวลา 3 วินาที นับว่าสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมาก

 

 

การติดตั้งลูกบอลดับเพลิง ทำได้ง่ายเช่นกัน เพียงติดตั้งในบริเวณที่เห็นได้ชัดและเข้าถึงได้ง่าย เช่น บนโต๊ะ หรือบริเวณทางเดินเพื่อจะได้หยิบมาใช้งานได้ง่ายและทันที หรือติดตั้งในจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ เช่น ห้องครัว สถานที่เก็บวัตถุไวไฟ แผงวงจรไฟฟ้า ฯลฯ

เพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นถึงความแตกต่างระหว่าง ลูกบอลดับเพลิงกับถังดับเพลิง ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้เลือกใช้อย่างถูกต้อง จำแนกได้ดังนี้

ลูกบอลดับเพลิง Elide Fire Ball  ได้ทำประกัน Product Liability Insurance MSIG Policy ด้วยวงเงิน 40 ล้านบาทไว้ จึงมั่นใจได้หากเกิดเหตุอะไรที่ไม่คาดคิดขึ้น มีการใช้งานง่าย สามารถใช้งานได้ทันทีแม้ว่าไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาก่อน มีน้ำหนักเบาเพียง 1.3 กิโลกรัม จึงทำให้เด็ก สตรี และคนชราสามารถใช้งานได้สะดวก , หยิบจับง่ายเพราะมีรูปทรงกลม สามารถขว้าง โยน  กลิ้ง หรือทอยเข้ากองเพลิง โดยไม่ต้องเข้าใกล้กับความร้อน และเปลวเพลิง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตลอดอายุการใช้งาน หากมีเสียงดังในระดับตกกระแทก ก็จะช่วยตือนให้ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงทราบว่ามีเพลิงไหม้ในบริเวณนั้นตามมาตรฐานสากล สามารถติดตั้งง่ายด้วยชุดอุปกรณ์มาตรฐาน และสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติเมื่อลูกบอลสัมผัสเปลวไฟ หากเกิดเพลิงไหม้ขึ้น แม้ได้รับแรงกระแทกหรือตกจากที่สูงก็จะไม่เกิดการแตกตัว ที่สำคัญวัสดุและสารเคมีที่ใช้ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ถังดับเพลิง ผู้ใช้ต้องผ่านการฝึกอบรมจึงจะทราบวิธีการใช้ที่ถูกต้อง มีน้ำหนักมากเฉลี่ยอยู่ที่ 5 กิโลกรัมขึ้นไป หยิบจับยาก เนื่องจากขนาดของถังดับเพลิงและต้องเข้าไปดับเพลิงในระยะใกล้กับกองเพลิงจึงจะได้ผล ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และต้องเติมน้ำยาทุกๆ 6 เดือน ไม่มีเสียงเตือนทำให้บุคคลรอบนอกไม่ทราบเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้น ติดตั้งยากเนื่องจากมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมาก ต้องมีคนมาหยิบไปใช้งานจึงจะใช้ได้ ต้องหมั่นตรวจสอบเพราะสายฉีดเคมีอาจมีการรั่ว เนื่องมาจากสารเคมีในถังไม่มีแรงดัน ทำให้ฉีดสารเคมีไม่ออก

ดังนั้นก็จะเห็นข้อแตกต่างระหว่างลูกบอลดับเพลิงและถังดับเพลิงว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ข้อดีและข้อเสียเป็นอย่างไร ก็จะเห็นได้ว่าลูกบอลดับเพลิงนั้นเป็นอุปกรณ์ดับเพลิงที่ควรมีติดไว้ในทุกสถานที่ เพื่อเป็นการป้องกันไปในตัว

 

Share